Design

สถาปัตยกรรมข้อมูล IA เป็นอย่างไร และมีความสำคัญอะไรบ้าง?

Supanus Poolthaveetham
Supanus Poolthaveetham
Business Team
สถาปัตยกรรมข้อมูล IA เป็นอย่างไร และมีความสำคัญอะไรบ้าง?
AI computer

หากใครที่ทำงาน หรือเคยทำงานด้าน UX Designer คงน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับคำว่า สถาปัตยกรรมข้อมูล IA หรือ สถาปัตยกรรมข้อมูล Information Architecture แต่บางคนก็อาจจะเลือกที่มองข้ามในส่วนนี้ไปเพราะคิดว่า มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะไกลตัวเกินไป คิดว่าเป็นเรื่องของ Developer เสียมากกว่า หรือบางคนก็อาจจะคิดว่าคงคล้ายกับการวาง Wireframe ทำควบกันไปก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า สถาปัตยกรรมข้อมูล IA เป็นอย่างไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อดีของมัน เราไปดูกันครับ

สถาปัตยกรรมข้อมูล Information Architecture (IA) คืออะไร?

Information Architecture (IA) หรือสถาปัตยกรรมข้อมูล คือโครงสร้างของข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ภายในแอปพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ การเข้าถึงข้อมูลสินค้าหรือบริการที่ง่าย ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการวาง IA อย่างเป็นระบบ โดยการจัดการกลุ่มข้อมูลที่ยุ่งยากให้เป็นระเบียบได้จะเป็นหน้าที่ของ UX Designer

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ UX Designer จะทำหน้าที่คล้ายกับสถาปนิกที่ต้องวางแผนโครงสร้างของตึกก่อนที่จะสร้างจริง ซึ่ง UX Designer จะออกแบบมาได้มีประสิทธิภาพขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัว UX Designer หรือบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์และหน้าแอปพลิเคชั่น

ความสำคัญของสถาปัตยกรรมข้อมูล

พูดถึงในเรื่องความสำคัญของสถาปัตยกรรมข้อมูล จะขอเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมข้อมูลเป็นโครงสร้างของอาคาร และข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ จะเปรียบเสมือนเสาหลักที่จะมาค้ำโครงสร้างอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์แต่ละฟีเจอร์ การเข้าถึงหน้าในแต่ละหน้าเนื้อหาต่างๆ รวมไปถึงกราฟิกที่ใช้ในแต่ละหน้า ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากการวางข้อมูลแผนผังที่เป็นระบบ

ดังนั้นการที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง และมั่นคงตั้งแต่ตอนแรก จะทำให้การต่อเติมส่วนต่าง ๆ นั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น สถาปัตยกรรมข้อมูลก็เช่นกันครับ

สถาปัตยกรรมข้อมูล IA ใช้ทำอะไรในการออกแบบ?

สถาปัตยกรรมข้อมูล IA จะใช้  User Research Technique หรือเทคนิคที่จะวิเคราะห์ผู้ใช้ เช่น Card Sorting เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจผู้ใช้งาน ว่าผู้ใช้งานต้องการที่จะได้รับข้อมูลแบบไหน ในบริบทอย่างไร หรือผู้ใช้งานคาดหวังให้จัดกลุ่มข้อมูลอย่างไร ชื่อของเมนูควรจะเขียนว่าอย่างไร หลังจากนั้นก็จะทำการจัดเรียงข้อมูลให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน และนอกจากนี้อาจจะมีการทำ Competitor Research หรือวิเคราะห์คู่แข่ง เพื่อเปรียบเทียบว่า เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ นั้น จัดเรียงข้องมูลอย่างไรบ้าง ซึ่งไม่ว่าจะบริษัทรับพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ธุรกิจ หรือ บริษัทรับออกแบบเว็บไซต์และหน้าแอปพลิเคชั่น สิ่งที่อยู่ในหัวคนทำ IA ของบริษัทนั้น ๆ จะมีการวางรูปแบที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ

- ข้อมูลนี้ควรจัดวางไว้ตรงไหน ?

- ข้อมูลแบบไหนสำคัญที่สุด ?

- ผู้ใช้งานแต่ละประเภท Navigate, Search, Filter ข้อมูลอย่างไร ?

- User Journey ตอนคลิกจากหน้าหนึ่ง ไปยังอีกหน้าหนึ่งนั้น เหมาะสมหรือไม่?

หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูล IA ที่ดี

การออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูล IA ที่ดี จะต้องคำนึงถึง 3 สิ่งหลักนี้ ก็คือ

Ontology (ภววิทยา)

Ontology หรือ ภววิทยา คือ การกำหนดขอบเขต หรือนิยามของข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและเป็นมาตรฐาน เช่น กำหนดว่าอาหารประเภทนี้เป็นของคาว หรือของหวาน ซึ่งการกำหนดนิยามในลักษณะนี้ จะทำให้อาหารถูกจำแนกตามประเภทออกได้อย่างชัดเจน

Taxonomy (อนุกรมวิทยา)

Taxonomy หรือ อนุกรมวิทยา คือ การจำแนกข้อมูลต่างๆ แล้วจัดเรียงหมวดหมู่ให้อยู่ในประเภทเดียวกัน โดยจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

- Classification การจับกลุ่มข้อมูลที่อยู่ในประเภทเดียวกัน

- Hierarchy การใช้ลำดับความสำคัญในการจัดกลุ่ม เช่น ลำดับตัวอักษร ความถี่ของการใช้งาน การเรียงลำดับตัวเลข เป็นต้น

ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ เมื่อเราแยกประเภทอาหารได้แล้วว่าเป็นของคาว หรือหวาน และเราต้องการทราบอีกว่าของคาวนี้ เป็นของคาวที่เน้นรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม เช่น แกงเขียวหวาน เป็นของคาวที่มีรสชาติเผ็ด และถ้าจัดเรียงตามลำดับตัวอักษร ก็จะอยู่ในกลุ่ม “ก” หรือถ้าเป็นตัวอักษรอังกฤษจะอยู่ในกลุ่ม “G” เป็นต้น

Choreography (รูปแบบการเข้าถึง)

Choreography หรือ รูปแบบการเข้าถึง คือ การนำนิยามของข้อมูลต่าง (Ontology) และการจัดหมวดหมู่(Taxonomy) มาสร้างให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานสอดคล้องตามความต้องการต่างๆนั่นเองครับ

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะให้ชาวต่างชาติที่ไม่รู้จักอาหารไทย แต่ต้องการจะให้เขาหยิบแกงเขียวหวานมาให้ เขาควรจะทราบก่อนว่าแกงเขียวหวานแยกอยู่ในฝั่งอาหารคาว ไม่ควรนำอาหารหวานมาปน และควรแยกอยู่ในอาหารที่มีความเผ็ด และลำดับตัวอักษรเพื่อความสะดวกมากขึ้น หรือถ้าจะให้ง่ายขึ้นก็ควรนำป้ายมาติดเพื่อบอกไปเลยโซนนี้เป็นอาหารประเภทใด เพื่อที่จะให้ชาวต่างชาติทราได้ง่ายขึ้น

เมื่อไรที่ต้องทำ IA?

การทำ Information Architecture หรือสถาปัตยกรรมของข้อมูล จะเป็นตัวช่วยให้วิธีการคิดตัดสินใจในการจัดเรียงข้อมูลให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น หรือพูดในอีกความหมายก็คือ IA เป็นการจัดวางโครงสร้าง ลำดับของข้อมูล ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าใจเนื้อหา และตามหาสิ่งที่ต้องการได้ เพราะอย่างนั้นเมื่อคุณกำลังต้องการจะสร้างเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ ด้วยการทำ IA ที่มีโครงสร้างที่ผู้คนสามาถเข้าใจได้ง่ายครับ

ข้อดีของการทำ Information Architecture (IA) คืออะไร?

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการทำ Information Architecture จะช่วยให้เว็บไซต์ หรือแอปโพลิเคชั่นของคุณมีการจัดวางโครงสร้าง การลำดับข้อมูล ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นของคุณเข้าใจได้ง่ายแล้ว ผู้คนที่เข้าไปก็จะรู้สึกว่าสบายตา จะค้นหาข้อมูล หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยุ่งยากครับ

Tips สำหรับการทำสถาปัตยกรรมข้อมูล Information Architecture

การทำสถาปัตยกรรมข้อมูลมี Tips การสร้างที่ดี และเข้าใจได้ง่ายดังนี้

1. รู้ว่าข้อมูลแบบไหนสำคัญ และแบบไหนที่ไม่สำคัญ

ไม่ต้องกังวลที่จะลดข้อมูลที่ไม่สำคัญออกไปให้เหลือน้อยที่สุด เพราะสิ่งที่จำเป็นก็คือควรเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นเข้าไปให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

2. คิดในแง่ส่วนรวมของเว็บไซต์ 

ต้องคำนึงถึงภาพรวมหน้าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นทั้งหมดของคุณ เช่น แทนที่คุณจะเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานกระจายไปทั่วแอปพลิเคชั่น ควรเปลี่ยนเป็นเก็บไว้ที่ส่วนโปรไฟล์ของแอปพลิเคชั่น เพราะโปรไฟล์ควรเป็นส่วนที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน

3. เข้ามาตรวจสอบ IA อยู่เสมอ

ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นของคุณเริ่มที่จะมีการเติบโต หรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ควรที่จะเข้ามาตรวจสอบอยู่บ่อย ๆ อาจจะตรวจสอบความเรียบร้อย หรือมีตรงไหนที่ควรปรับปรุงอีก ไม่ควรปล่อยผ่าน

สนใจปรึกษาด้านสถาปัตยกรรมข้อมูล (IA) กับ Criclabs ทำอย่างไร?

Criclabs มีความเชี่ยวชาญในทุกขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์เต็มรูปแบบ ผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้าน Software House และ IT Consultant เข้าไว้ด้วยกัน รวม ดีไซน์เนอร์ ดีเวลลอปเปอร์ UX/UI Design และ IOS Developer รวมไปถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลที่สามารถมอบคำแนะนำ แนวทาง ในการสร้างเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ดีที่สุด ให้กับทุกความต้องการของคุณแน่นอน